วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่ 8 การตั้ง Password ให้กับเอกสารของเรา

บทที่ 8
การตั้ง Password ให้กับเอกสารของเรา
          การตั้งพาสเวิร์ด (Password) ให้กับเอกสารของเรา
ขั้นตอนการทำ
1. เลือกเมนู File => Save As เพื่อ Save งาน
2. คลิกปุ่ม Tools(เครื่องมือ) => คลิกเลือกแถบ General Options(ตัวเลือกทั่วไป) ตามรูป
3. ให้ทำการตั้ง Password
3.1 ให้ทำการตั้ง Password สำหรับการเปิด File
3.2 ให้ทำการตั้ง Password สำหรับการแก้ไข File => คลิกปุ่ม OK
4.ให้กรอก Password อีกครั้งทั้งในส่วนของ การเปิด File และการแก้ไข File => คลิกปุ่ม OK
5. และขั้นตอนสุดท้ายให้ตั้งชื่อ File งานของเราและคลิกที่ปุ่ม Save เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

บทที่ 7 การพิมพ์เวิร์กชีต Excel

บทที่ 7
การพิมพ์เวิร์กชีต Excel
          โดยปกติ EXcel จะกำหนดรายละเอียดการพิมพ์ให้อัติโนมัติ ตั้งแต้ขนาดกระดาษที่ใช้ ระยะห่างจากขอบกระดาษ แต่เราสามารถปรับแต่งแก้ไข ในส่านที่เราต้องการได้
การกำหนดรายละเอียดการพิมพ์
1. คลิกเลือกเวิร์กชีต ( แต่ละเวิร์กชีตมีรายละเอียดของการพิมพ์แยกเป็นของตนเอง )
2. เลือกคำสั่ง เค้าโครงหน้ากระดาษ
3. เลือกคำสั่ง ระยะขอบเพื่อกำหนดระยะขอบของกระดาษ
4. เลือกคำสั่ง การวางแนว เพื่อกำหนดให้กระดาษอยู่ในแนวนอนหรือแนวตั้ง
5. เลือกคำสั่ง ขนาด เพื่อเลือกขนาดของกระดาษ
'
6. ใช้เมาส์เลือกเซลที่จะพิมพ์เวิร์กชีต
7.เลือกคำสั่ง พื้นที่การพิมพ์ เพื่อกำหนดพื้นที่พิมพ์

สร้างข้อความหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ
ถ้าไม่ชอบข้อความที่Excel เตรียมไว้ให้เราสามารถกำหนดเองได้ ดังนี้
1. เลือก คำสั่ง เค้าโครงหน้ากระดาษ แล้วคลิกสัญลักษณ์ตรงมุมขวาล่างของแถบคำสั่ง
เลือก คำสั่งหัวกระดาษ/ท้ายกระดาษ เสร็จแล้วเลือก หัวกระดาษแบบกำหนดเอง
การบังคับจุดขึ้นหน้าใหม่
          ตามปกติ Excel จะพิมพ์เวิร์กชีตไปเรื่อยๆทีละแถว และเมื่อพิมพ์จนสุดหน้ากระดาษก็จะขึ้นหน้าใหม่ตรงนั้น แต่ถ้าคุณต้อวการบังคับให้มีการขึ้นหน้าใหม่ที่จุดใดจุดหนึ่งก็สามารถทำได้ดังนี้
การใส่ตัวแบ่งหน้า ( Page Break )
1 . คลิกเลือกเซลที่จะให้อยู่ที่มุมซ้ายบนของหน้ากระดาษใหม่
          ก่อนที่จะพิมพ์เวิร์กชีตลงกระดาษ คุณสามารถเรียกดูตัวอย่างผลการพิมพ์บนหน้าจอก่อนได้ ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบรูปแบบของเวิร์กชีตที่จะพิมพ์ง่ายขึ้น เพราะเมื่อกำหนดขอบกระดาษ หรือความกว้างคอลัมน์ ก็จะเห็นผลบนหน้าจอทันที สำหรับวิธีดูตัวอย่างก่อนพิมพ์ ทำได้ดังนี้
คลิกปุ่ม  Print Preview ( ตัวอย่างก่อนพิมพ์ )
หรือเลือกคำสั่ง File ->Print-> Print Preview ( แฟ้ม - >พิมพ์-> ตัวอย่างก่อนพิมพ์ )
การสั่งพิมพ์
          เมื่อเรากำหนดรายละเอียดต่างๆจนครบ เราก็สามารถสั่งพิมพ์เวิร์กชีตได้ทันที ซึ่งก็มีวิธีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น คลิกปุ่ม Print (พิมพ์) ,ใช้คำสั่ง File -> Print ( แฟ้ม -> พิมพ์ ) ดังรูปตัวอย่าง
1. คลิกเลือกเวิร์กชีตที่จะพิมพ์
2. เลือกคำสั่ง File -> Print ( แฟ้ม -> พิมพ์ )
3. เลือกเครื่องที่จะใช้พิมพ์จากช่อง Name ( ชื่อเครื่องพิมพ์ )

4. ระบุหน้าที่จะพิมพ์ เลือก All ( ทั้งหมด ) หมายถึงพิมพ์ทุกหน้า หรือระบุหน้าที่ต้องการเองก็ได้
5. ระบุจำนวนสำเนาที่ต้องการ
6. คลิกปุ่ม ตกล
ง 

บทที่ 6 ใส่ภาพลงเวิร์กชีต Excel

บทที่ 6
ใส่ภาพลงเวิร์กชีต Excel
          ใน Excel นั้นนอกเหนือจากข้อความ ตัวเลข และสูตรคำนวณที่ใส่ลงไปแล้ว คุณสามารถที่จะแทรกรูปภาพเข้ารมาประกอบเนื้อหา หรือใช้ตกแต่งเวิร์กชีตให้สวยงามเหมือนๆกับโปรแกรมอื่น 
การแทรกภาพจากแฟ้ม
1. คลิกในตำแหน่งที่จะแทรกรูปภาพ แล้วเลือก แทรก -> รูปภาพ   
2. เปิดไปยังที่เก็บรูปภาพ และคลิกเลือกรูปภาพที่จะแทรก
3. คลิกปุ่ม Insert ( แทรก )
4. รูปภาพจะถูกวางลงในเวิร์กชีต จากนั้นเราก็มาปรับแต่งเพิ่มเติมได้ เช่น ย่อ/ขยาย
     ย้ายตำแหน่ง ปรับสี
1
การปรับแต่งรูปภาพ
การเคลื่อนย้ายรูปภาพ โดยการลากเมาส์ค้างไว้แล้วไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
1
เปลี่ยนขนาดของภาพโดยใช้เมาส์
          สำหรับจุดวงกลมเล็กๆสีขาว ( handle ) รอบๆรูปนั้นมี 8 จุดด้วยกัน จะใช้ในการปรับขนาดของรูปโดยคลิกลากจุดด้านที่ต้องการปรับ หรือคลิกลากที่มุมของรูปหากจะปรับสองด้านพร้อมกันในสัดส่วนเดิม

1
การตัดภาพบางส่วน 
          ภาพที่ต้องการตัดออกบางส่วนเพื่อเน้นเฉพาะบางจุด หรือตัดรายละเอียดบางส่วนของภาพทิ้งไป อาจใช้วิธีที่เรียกว่า Cropping เพื่อปิดบางส่วนของภาพนั้นไม่ให้แสดง ซึ่งคล้ายกับการนำกระดาษมาวางปิดส่วนที่ไม่ต้องการแสดงไว้ หรือถ้าเกิดเปลี่ยนใจในภายหลังให้กลับมาแสดงทุกส่วนก็ทำได้

การหมุนรูปภาพ
          โดยปกติแต่ละภาพจะมีจุดปรับหมุนเพื่อให้ภาพไปอบู่ในมุมต่างๆได้ตามความเหมาะสม การหมุนภาพนั้นกระทำได้ง่ายโดยใช้เมาส์ลากที่จุดจับหมุน ซึ่งจะหมุนได้อย่างอิสระ
1
ปรับความสว่างให้ภาพ
         ภาพที่นำมาใส่ในเวิร์กชีตนั้น อาจมีจุดบกพร่องที่ยังไม่ได้แก้ไข เช่น มืดไป สว่างไป สามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดังนี้
การจัดลำดับภาพ 
ในกรณีที่นำรูปภาพมาวางหลายๆรูป ภาพที่วางก่อนจะอยู่ด้านล่างส่วนภาพที่วางทีหลังจะอยู่บนสุดทับรูปภาพอื่นๆที่วางก่อนหน้า แต่คุณสามารถจัดลำดับรูปภาพใหม่ได้ดังนี้
1. คลิกเลือกรูปภาพ
2. คลิกขวาที่ภาพ เลือกคำสั่ง Order ( ลำดับ )
Bring to Front ( นำไปไว้ข้างหน้าสุด )       รูปที่จะอยู่ด้านบนสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้นเดียวกัน
Send to Back ( ย้ายไปไว้ข้างหลังสุด )       รูปที่เลือกจะอยู่ด้านล่างสุดของทุกๆรูปที่อยู่ในชั้น
                                                                         เดียวกัน
Bring Forward (นำไปข้างหน้า )                 รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนขึ้นมาหนึ่งชั้นในระดับเดิม
Send Backward ( ย้ายไปข้างหลัง )             รูปที่เลือกจะเขยิบหรือเลื่อนลงไปหนึ่งขั้นใน
                                                                         ระดับชั้นเดิม

บทที่ 5 มารู้จักกราฟ Excel กันเถอะ

บทที่ 5
มารู้จักกราฟ Excel กันเถอะ
         กราฟ หรือ "ชาร์ต" ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลขได้ชัดเจน และสื่อความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบความมากน้อยหรือแสดงแนวโน้วของค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยอดขายสินค้า รายได้ - รายจ่าย หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นต้น
ทำความรู้จักกับกราฟ
ตัวอย่าง
          ตัวอย่างนี้เป็นการสรุปยอดรายจ่ายประจำเดือนมกราคม,กุมภาพันธ์และมีนาคม
1. เลือกกลุ่มข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟ ปกติจะเลือกทั้งส่วนที่เป็นข้อมูล และชื่อแถวหรือคอลัมน์
     ของข้อมูลนั้นด้วย ( ยกเว้นไตเติล )
2. คลิกปุ่มแทรกแล้วเลือกชนิดของแผนภูมิที่ต้องการเช่น ถ้าใช้กราฟแท่ง
    เลือก Column ( คอลัมน์ )
3. เมื่อคลิกเลือกประเภทของกราฟแล้ว จะได้กราฟปรากฏบน เวิร์กชีต
 
5. ปรับแต่งกราฟ เช่นคำอธิบายสีกราฟ ( Legend ) ถ้าไม่ต้องการให้คลิกเลือกส่วนนั้น
     แล้วกด Delete 

เลือกใช้กราฟประเภทไหนดี

บทที่ 4 การตั้งชื่อและใช้สูตรคำนวณ Excel

บทที่ 4
การตั้งชื่อและใช้สูตรคำนวณ Excel
          ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นั้น ได้อธิบายว่าเซลต่างๆในเวิร์กชีตจะมีชื่อเรียกว่า Cell reference หรือ "ชื่อเดิม" ของเซลอยู่ทุกๆเซล ซึ่งชื่อนี้จะประกอบไปด้วยชื่อคอลัมนและแถวของเซลนัน้มารวมกัน เช่น เซลที่อยู่ตรงคอลัมน์ F แถวที่ 8 ก็จะเรียกว่าเซล F8 แต่ในการทำงานจริงบางครั้งจำเป็นต้องตั้งชื่อเซลให้สื่อความหมายมากกว่านี้ เพื่อให้นำไปใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น ถ้ามีเซลอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งเก็บจำนวนเงินที่นำเข้าสินค้าเดือนกุมภาพันธุ์ แทนที่จะเรียก "E5:E8" แต้ถ้าเราตั้งว่า Feb หรือ ก.พ. ก็น่าจะเข้าใจมากกว่า
ตั้งชื่อเซลเพื่อให้เรียกใช้ได้ง่าย
ตั้งชื่อใหม่ให้เซลหรือกลุ่มเซล
ตั้งชื่ออัตโนมัติจากหัวคอลัมน์หรือหัวแถว
อธิบาย
ชื่อ
กลุ่มเซลล์
กุมภาพันธุ์
เซลล์ B3 - B7
มีนาคม
เซลล์ C3 - C7
ตั้งชื่อเซลโดยใช้ กล่องชื่อ ( Name box )
          วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดในการตั้งชื่อเซลหรือกลุ่มเซลเพียงกลุ่มเดียว เพราะคุณสามารถจะพิมพ์ชื่อเข้าไปในช่อง name box (กล่องชื่อ) ได้ทันที ( วิธีนี้ใช้ตั้งชื่อเซลได้อย่างเดียว แต่จะลบหรือเปลี่ยนชื่อไม่ได้ )
1. เลือกเซลหรือกลุมเซลที่ต้องการตั้งชื่อเป็นชื่อเดียวกัน
2. คลิกที่ช่อง name box (กล่องชื่อ) พิมพ์ชื่อหรือกลุ่มเซล
3. เสร็จแล้วกด Enter
ประโยชน์ของชื่อเซลที่ตั้งเอง
การดูผลลัพธ์จากแถบสถานะ
1. เลือกกลุ่มเซลที่ต้องการนำมาคำนวรค่า
2. คลิกขวาบนแถบ Status ( สถานะ ) แล้วเลือกผลลัพธ์ที่ต้องการจากเมนูลัดซึ่งจะประกอบด้วย
None               (ไม่มี) ไม่ต้องคำนวณหาผลลัพธ์ใดๆเลย
Average          (ค่าเฉลี่ย) หาค่าเแลี่ยของตัวเลข
Count              (จำนวนนับ) นับจำนวนเวลทั้งหมดที่คุณเลือกไว้
Count Nums  (นับเฉพาะสิ่งที่เป้นตัวเลข) นับจำนวนเซลที่เป็นตัวเลข
Max                 (ค่ามากที่สุด) หาค่าสูงสุดจากทุกๆเซลที่เลือก
Min                  (ค่าน้อยที่สุด) หาค่าต่ำสุดจากทุกๆเซลที่เลือก
Sum                 (ผลรวม) หาผลรวมของตัวเลข
ตัวดำเนินการ
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
Opertor
ความหมาย
ตัวอย่างการใช ้
+
บวก
4+7
-
ลบ
15-3 หรือ -6
*
คูณ
8*3.5
/
หาร
9/4
%
เปอร์เซ็นต์
3%(มีค่าเท่ากับ 0.03)
^
ยกกำลัง
2^3(หมายถึง 2 ยกกำลัง3)
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
Operator
ความหมาย
ตัวอย่างการใช ้
=
เท่ากับ
A1= B1
>
มากกว่า
A1> B1
<
น้อยกว่า
A1< B1
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ
A1>= B1
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
A1<= B1
<>
ไม่เท่ากับ
A1<> B1
ตัวดำเนินการกับข้อความ ( Text Operator )
          ข้อความในที่นี้อาจเป็นตัวอักษรเพียงตัวเดียว ข้อความทั้งประโยค หรือข้อความที่ไม่มีตัวอักษรอะไรเลยก็ได้ (null string ) ซึ่งเวลาเขียนจะใช้เครื่องหมายคำพูดปิดและเปิดติดกันดังนี้ " " 
Operator                                  ความหมาย                                                          ตัวอย่างการใช ้ 
       &   นำข้อความตั้งแต่ 2 ข้อความข้อความขึ้นไปมาต่อเป็นข้อความเดียวกัน "บริษัท"& "อาหารไทย" หรือ A1&B1& C1
ระดับความสำคัญ
          Opertor แต่ละตัวมีระดับความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น เราใส่สูตร =2+3*5 โดยเราต้องการใหโปรแกรมนำ 2+5 (ได้5) แล้วนำไปคูณกับ 5 จะได้เป็น 25 แต่เครื่องหมายคูณ* มีระดับความสำคัญสูงกว่าบวก + โปรแกมจึงนำ3*5 ก่อน(ได้15) แล้วจึงบวกกับ 2 ได้เป็น 17 วิธีที่จะบังคับให้ Excel คิดเหมือนที่เรา ก็คือใส่ ( ) คร่อมส่วนที่ต้องการคำนวณก่อนเป็น =(2+3)*5 เท่านี้ก็ได้คำตอบที่ถูกต้องแน่นอน

          ตารางต่อไปนี้จะแสดงระดับความสำคัญของ Opertor ต่างๆจากมากไปน้อย โดย Opertor ที่มีระดับความสำคัญสูงจะถูกคำนวณก่อน และถ้ามี opertor ที่มีระดับความสำคัญเดียวกันในสูตร Excel จะคำนวณจากซ้ายไปขวาทีละตัว


การสร้างสูตรคำนวณ
พิมพ์สูตรคำนวณด้วยตัวเอง
          วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างสูตรก็คือพิมพ์ทุกอย่างลงไปเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเซล ตัวเลข หรือเครื่องหมายคำนวณต่างๆ
1. คลิกเลือกเซลที่จะใส่สูตรคำนวณ
2. พิมพ์เครื่องหมาย =
3. พิมพ์สูตรโดยใช้ชื่อเซล หรือตำแหน่งเซล
4. กด Enter ก็ขะได้ผลลัพธ์
ฟังก์ชั่นและสูตรคำนวณ
          ฟังก์ชั่นถ้าเราจะกล่าวถึงก็เหมือนกับว่าเป็น Operand ตัวหนึ่ง โดยในสูตรอาจประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นอย่างเดียว เช่น AVERAGE( A2:A5:B12 )ซึ่งเป็นการหาค่าเฉลี่ยของตัวเลขในเซล 3 เซลในวงเล็บ หรืออาจมีฟังก์ชั่นปนกับข้อมูลอื่น เช่น =B4/SUM( D5:F5) คือให้นำผลรวมของเซล D5 ถึง F5 ไปหารค่าในเซล B4
          สำหรับอาร์กิวเมนต์ที่เป็นชื่อเซล จะพิมพ์ลงไปเองหรือคลิกเมาส์เลือกก็ได้
ใช้ปุ่ม Insert Function หรือแถบสูตรคำนวณ ช่วยใส่ฟังก์ชั่น
1. คลิกเซลที่ใส่ฟังก์ชั่น
2. คลิกปุ่ม Insert Function ( แทรกฟังก์ชั่น )หรือกด Shift+ F3
3. คลิกเลือกประเภทของฟังก์ชั่นจากเมนูของช่อง Or select a category ( หรือเลือกประเภท ) เช่น      AVERAGE
4. คลิก ตกลง
5. คลิกปุ่ม Collapse
6. ใช้เมาส์คลิกที่เป็นอาร์กิวเมนต์หรือที่จะนำมาคำนวณ คลิกปุ่ม Collapse
7. กด ตกลงเพื่อจบสูตร

เลือกฟังก์ชั่นจากปุ่ม AotoSum ( ผลรวมอัตโนมัติ )
สำหรับฟังก์ชั่นต่างๆทำหน้าที่ต่างๆดังต่อไปนี้
Sum (ผลรวม)                                        หาผลรวมของตัวเลข
Average (ค่าเฉลี่ย)                                หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
Count (จำนวน)                                     นับจำนวนเซลทั้งหมดที่คุณเลือกไว้
Max (ค่ามากที่สุด)                                 หาค่าสูงสุดจากทุกๆเซลที่เลือก
Min (ค่าน้อยที่สุด)                                 หาค่าต่ำสุดของตัวเลข
More Functions (ฟังก์ชั่นเพิ่มเติม)      ไปเลือกฟังก์ชั่นอื่นๆ 


บทที่ 3 การจัดการเวิร์กชีตและเวิร์กบุ๊ค Ecxel

บทที่ 3
การจัดการเวิร์กชีตและเวิร์กบุ๊ค Ecxel
          ลักษณะข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลดิบ, ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เราควรแยกคุณสมบัติของข้อมูลเหล่านี้ไว้คนละเวิร์กชีต เพื่อความเป็นระเบียบเรียนร้อยง่ายต่อการเรียกดู
การจัดการเวิร์กชีต
ตั้งชื่อเวิร์กชีตให้สื่อความหมาย
          Excel อนุญาตให้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเวิร์กชีตแต่ละหน้าได้อย่างอิสระ ดังนั้นเพื่อให้ทราบว่าเวิร์กชีตไหนเก็บข้อมูลอะไร ก็ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับเวิร์กชีตที่ใช้งานด้วย ซึ่งจะต้องไม่เกิน 32 ตัวอักษร
เลือกและแสดงหน้าเวิร์กชีต
การลบเวร์กชีตออกจากเวิร์กบุ๊ค
การใส่สีให้เวิร์กชีต
          การย้ายสลับตำแหน่งเวิร์กชีต ให้เราลากเมาส์ที่แท็บชื่อของเวิร์กชีตค้างไว้ แล้วถึงจุดที่ต้องการย้ายก็ปล่อยเมาส์
การจัดการวินโดว์ของเวิร์กชีต
ย่อและขยายมุมมองเวิร์กชีต
วิธีที่ 1
1. คลิกลูกศร  Zoom ( ย่อขยาย )
2.เลือกขนาดจากรายการ หรือระบุเองก็ได้
วิธีที่ 2
1. เลือก View --> Zoom ( มุมมอง --> ย่อขยาย )
2. คลิกเลือกขนาดที่จะย่อขยาย ขนาดปกติคือ 100%
ถ้าใช้ค่ามากกว่า 100% จะเป็นการขยายและถ้าน้อยกว่า 100% จะเป็นการย่อ
3. คลิกปุ่ม Ok

การแบ่งวินโดว์เพื่อจัดการกับตารางข้อมูลขนาดใหญ่
การแบ่งวินโดว์แนวตั้ง
การแบ่งวินโดว์แนวนอน


บทที่ 2 การทำงานกับเวิร์กชีต Excel

บทที่ 2
การทำงานกับเวิร์กชีต Excel
          การใส่ข้อมูลลงในเซล และการแก้ไขต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเวิร์กชีต เป็นงานหลักๆในขณะที่ใช้ Excel
การเลื่อนเวิร์กชีต
ถ้าเวิร์กชีตมีขนาดใหญ่มาก อาจกดปุ่ม Shift พร้อมคลิกลากแถบเลื่อน เพื่อให้เร็วขึ้น
อาจใช้เมาส์แบบ 3 ปุ่มเพื่อเลื่อนหน้าจอขึ้นลงก็ได้
การเลือกกลุ่มเซลแบบต่อเนื่อง
การเลือกกลุ่มเซลแบบไม่ต่อเนื่อง
เลือกเซลทั้งคอลัมน์หรือหลายคอลัมน์
เลือกเซลทั้งแถวหรือหลายแถว
เลือกทั้งเวิร์กชีต
การปรับขนาดเซล
ปรับความกว้างของคอลัมน์ด้วยการคลิกลากเมาส์
ปรับความกว้างของคอลัมน์ด้วยเมนูลัด
1. คลิกเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจะปรับความกว้าง
2. กดปุ่ม รูปแบบ บนเมนู เลือก ความกว้างคอมลัมน์
3. ระบุความกว้างในช่อง ( โดยมีหน่วยวัดเป็นตัวอักษร )
การปรับค่าความสูงก็จะมีลักษณะคล้ายๆกัน
หรือใช้เมนูลัดโดยการ คลิกขวาเลือก -->ความสูงของแถว -->แล้วระบุค่าความสูง
การคัดลอกเซล ย้ายเซล
การคัดลอกด้วยวิธีลากแล้ววาง
การคัดลอกเซลผ่านคลิปบอร์ด
หรือกดปุ่ม Ctrl+C เพื่อก๊อปปี้
หรือถ้าเปลี่ยนใจจะยกเลิกเซลที่เลือกไว้ให้กดคีย์ Esc เส้นประก็จะหายไป

การย้ายเซล
          การย้ายข้อมูลจากเซลหนึ่งไปยังเซลหนึ่ง ก็มีวิธีคล้ายกับการคัดลอกเพียงแต่หลังการย้ายแล้ว ข้อมูลจะอยู่ในเซลปลายทางเพียงชุดเดียว ส่วนข้อมูลต้นฉบับจะหายไป
เราสามารถย้ายข้อมูลในระระใกล้ๆ ด้วยวิธีลากแล้ววางได้เหมือนกัน แต่ไมต้องกด Ctrl ค้างไว้
การแทรกแถว หรือคอลัมน์
การแทรกหรือลบคอลัมน์
การแทรกหรือลบเซล
1.เลือกเซลที่จะแทรกหรือลบจากเวิร์กชีต
2.คลิกขวาบนเซลที่เลือกไว้ แล้วเลือกคำสั่ง
Insert ( แทรก ) เพื่อแทรกเซลใหม่
Delete ( ลบ ) เพื่อลบเซลที่เลือกไว้
บทที่ 2
การซ่อนหรือแสดงข้อมูล
          เราสามารถซ่อนข้อมูลที่ไม่ต้องการได้ เช่นข้อมูลที่เป็นความลับ ถ้าจะพิมพ์รายงานเฉพาะส่วนที่ไม่เป็นความลับ ก็ให้ซ่อนแถวหรือคอลัมน์ที่เป็นความลับไว้ก่อนแล้วค่อยพิมพ์ เมื่อพิมพ์เสร็จจึงค่อยแสดงแถวหรือข้อมูลนั้นกลับคืนมา
          วิธีนำคอลัมน์หรือแถวมาแสดง ให้เลือกครอบคลุมแถวหรือคอลัมน์ที่ซ่อน เช่นจะแสดงคอลัมน์ C ก็ให้เราเลือกคอลัมน์ B-D แล้วคลิกขวาเลือก Unhide ( ยกเลิกการซ่อน )